ปิดบริษัท ด้วยตัวเอง เราช่วยเตรียมเอกสาร จดทะเบียนเลิก - ชำระบัญชี - ทำงบการเงินและตรวจสอบ - ประสานงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบริการครอบคลุมทั่วประเทศ พิเศษ ค่าบริการแค่ 10,000 บาท
โทร 080 175 2000 - คุณสุวิทย์ (ผจก. นาราการบัญชี)

ปิดบริษัท ชำระบัญชี งบเลิก และ จดทะเบียนเลิก บริการทั่วประเทศ
การเลิกและชำระบัญชี
เมื่อมีความประสงค์จะเลิกบริษัท ให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท และตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อทำหน้าที่ชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท จากนั้นผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
- จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท และต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าบริษัทเลิกกัน พร้อมกับส่งจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์แจ้งไปยังเจ้าหนี้ทุกคน ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินแปดหมื่นบาท
- จัดทำงบการเงินส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง แล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรับรองให้ผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือ จะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบการเงิน ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีใหม่หรือแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี หรือแก้ไขที่ตั้งสำนักงำนของผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงด้วย การจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีหรือแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องไป จดทะเบียนภายใน 14 วัน นับจากวันที่ได้มีการเปลี่ยนตัว หรือวันลงมติ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- จัดทำรายงานการชำระบัญชียื่นต่อนายทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อแสดงความเป็นไปของบัญชีที่ชำระอยู่ และรายงานนี้ต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นและเจ้าหน สามารถตรวจดูได้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมด้วย ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท แต่หากการชำระบัญชีต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในเวลาทุกสิ้นปีนับแต่วันที่เริ่มที่การชำระบัญชีและทำรายงานต่อที่ประชุม ว่าได้จัดการไปอย่างไร พร้อมทั้งบอกให้ทราบความเป็นไปของบัญชีโดยละเอียด ถ้าไม่เรียกประชุม ไม่ทำรายงาน หรือไม่แถลง มีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- เมื่อผู้ชำระบัญชีได้ชำระบัญชีของบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว ต้องทำรายงานสรุปการดำเนินการชำระบัญชีตั้งแต่ต้น แล้วเรียกประชุมใหญ่เพื่อเสนอรายงานและชี้แจงกิจการต่อที่ประชุม เมื่อที่ประชุมได้อนุมัติรายงานนั้นแล้ว ให้จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติรายงาน ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วถือว่าการชำระบัญชีสิ้นสุดลง และบริษัทนั้นย่อมสิ้นสภาพ ความเป็นนิติบุคคล ถ้าไม่เรียกประชุม ไม่ทำรายงาน ไม่ชี้แจง หรือ ละเลยไม่ไปจดทะเบียนมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ถาม - ตอบ ปิดบริษัท ด้วยตัวเอง
ถาม 1 - ระยะเวลา เร็วสุดสำหรับ การปิดบริษัท ขนาดเล็กๆ ใช้เวลา นานแค่ไหนคะนารา - ปกติ ความหมายของขนาดเล็ก นั้น ยังมีความหมายไม่ชัดเจนครับ ผมขอยกตัวอย่าง เป็นแบบ งบเปล่า หรือ งบไม่ดำเนินงาน นะครับ และจะเอาแบบเร็วสุดก็ 22 วันครับ (ถ้ามีการประชุมจริงก็ต้องบวกเพิ่มอีก 14 วันนะครับ)
อย่างไรเสีย กรณีมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ท่านต้องนำยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบเปล่า) ต่อไปอีก 6 เดือน จนกว่า กรมสรรพากรจะออกเอกสารการอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติแล้วจะไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่คืนใบทะเบียน (ขั้นที่ 3) สงสัย เพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท นาราการบัญชี จำกัด โทร 080 173 2000, 080 174 2000 หรือ 080 175 2000 |
ถาม 2 - ทราบมาว่า กำไรสะสม ที่เหลือในบัญชี ต้องเสียภาษีด้วย เหรอคะ ถ้าไม่ทำจ่าย ได้ไหมคะตอบ - ครับ ตามกฎหมาย ต้องทำการจ่ายปันผล และเสียภาษีให้ครบถ้วนก่อน ครับ จึงจะดำเนินการปิดบริษัทได้ ขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้นะครับ กรณี ที่เงินปันผล ต้องจ่ายให้กับ บุคคลธรรมดา (ส่วนใหญ่ลูกค้า ที่จดทะเบียนเลิก กับ นาราการบัญชี เป็นแบบนี้ครับ) บริษัทต้องทำจ่ายเงินปันผล และหักภาษี ณ ที่จ่ายใน อัตรา 10% โดยส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้ไปเคลียร์ในขั้นตอน การตรวจสอบของ สรรพากร ครับ ซึ่งแน่นอนว่า อยู่หลังวันเลิก - จดทะเบียนเลิก (ปิดบริษัท) ดังนั้น ก็อาจมีค่าปรับแบบ สำหรับการยื่นย้อนหลังกลับมา ณ วันจดทะเบียนเลิก แต่มันก็ง่ายกว่า ที่จะทำทันที เพราะบางครั้งก็ไม่โดนเรียกตรวจ หรือ เมื่อถูกเรียกตรวจ ก็ให้เจ้าหน้าที่ได้ผลงาน ในการตรวจสอบ ทำให้เราปิดบริษัทได้ง่ายกว่า ครับ หมายเหตุ
|
ถาม 3 - บริษัท ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 และ ได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด 50 ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2558 ไว้แล้ว สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2558 จนถึงวันที่ชำระบัญชีเสร็จ ถ้าระยะเวลาการชำระบัญชีเกินกว่า 12 เดือน บริษัทฯ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ คะตอบ - บริษัท ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไว้แล้ว แต่การชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้ถือว่า บริษัทฯ ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ตามมาตรา 1249 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น บริษัทฯ จึงยังมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ แบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมงบการเงินต่อไป จนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีเสร็จ โดยมีรอบระยะ เวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก) โดยแต่ละรอบบัญชี ต้องไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 ปี |
ถาม 4 - กรณีห้างฯ ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ. 09 ห้างฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีหรือไม่ และผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจากห้างฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ห้างฯ เรียกเก็บไปหักออกจากภาษีขายได้หรือไม่ตอบ - กรณีห้างฯ แจ้งเลิกกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ห้างฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.09) พร้อมคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ณ สถานที่ที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่ห้างฯ มิได้ยื่นแบบ ภ.พ.09 และยังคงประกอบกิจการ ออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบ ภ.พ. 30 พร้อมทั้งชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ห้างฯ จึงมีความผิดกรณีที่ไม่แจ้ง เลิกประกอบกิจการและคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 90(8) และมาตรา 90/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อห้างฯ ยื่นแบบ ภ.พ. 09 แล้ว ห้างฯ ยังคงรับผิดในฐานะ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไป โดยยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม จนกว่าอธิบดีจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ ห้างฯ ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทั้งนี้ ตามมาตรา 83 มาตรา 85/19(2) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร นับแต่วันที่แจ้งเลิกประกอบ กิจการเป็นต้นไป อีกทั้งไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปในระหว่างวันที่แจ้งเลิกประกอบกิจการ ถึงวันที่อธิบดีสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาถือเป็นภาษีซื้อ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร |
ถาม 5 - บริษัทเราได้รับ การส่งเสริมการลงทุน BOI และกำลังวางแผนที่จะปิดบริษัท สามารถทำได้เหมือนกับบริษัทปกติหรือไม่ หรือมีขั้นตอนการดำเนินการปิดบริษัท แต่งต่างเพิ่มเติมอย่างไรตอบ - การปิดบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม จะมีขั้นตอนการปิดแตกต่างจากปกติครับ ดังนี้
|
ถาม 6 - ผมได้ปิดบริษัท และเสร็จชำระบัญชี ไปแล้ว แต่ได้รับเอกสาร การถูกประเมินภาษี จากกรมสรรพากร แบบนี้เป็นไปได้เหรอครับ ผมควรติดต่อกลับไปหา สรรพากรไหมครับตอบ - เป็นไปได้ครับ แต่ไม่ค่อยได้เจอ ในกรณีแบบนี้ ส่วนใหญ่ จะเรียกเก็บค่าเงินเพิ่ม หรือ ค่าปรับเพิ่มเติม จากถูกตรวจสอบในครั้งก่อนๆ หรือ เกิดจากคู่ค้าถูกตรวจสอบ แนะนำให้เข้าพบและจัดการปัญหาให้จบนะครับ อันที่จริง กรมสรรพากร ก็เข้าใจบริษัทนะครับ และก็ต้องการให้บริษัทปิดอย่างถูกต้องเช่นกัน อ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ยังบัญญัติว่า ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี |
ถาม 7 - บริษัทมีที่ดิน ซึ่งคาดว่าจะขายได้กำไร กว่า 2 เท่า หรือ กว่า 35 ล้านบาท ไม่ทราบว่าควรวางแผนขายที่ดิน แปลงนี้อย่างไร หรือ ควรแบ่งกันหลังจากปิดบริษัทแล้วตอบ - แนะนำให้ดำเนินการขายที่ดิน ให้เรียบร้อยก่อนปิดบริษัทครับ เพราะการเสียภาษีจะอยู่ในรูปของเงินปันผล กล่าวคือ ถูกหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแค่ 10% และผู้ได้รับเงินปันผล (ผู้ถือหุ้น) ก็มีสิทธิเลือกว่าจะนำไปรวมเพื่อเสียภาษีหรือไม่ กล่าวคือ อย่างมากก็เสียภาษีในอัตรา 10% แต่ถ้านำที่ดินแปลงนี้ ไปขายหลังปิดบริษัท หรือโอนให้ผู้ถือหุ้น อัตราการคำนวณภาษีจะต่างไป กล่างคือ ผู้ได้รับ (มีถิ่นที่อยู่ในไทย และสียภาษีในไทย) ต้องเสียภาษีจากรายได้ส่วนนี้ (เกินกว่าเงินลงทุน) ในอัตราก้าวหน้า ซึ่งฐานภาษีจะสูงกว่า และ กรณีเป็นผู้รับต่างชาติ (ไม่มีถิ่นที่อยู่ และเสียภาษีในไทย) ต้องถูกหัก ในอัตรา 15% |
ถาม 8 - กรรมการบริษัท มี 2 ท่าน โดยกำหนดอำนาจ ไว้ว่า "กรรมการหนึ่งคนเซ็นต์พร้อมประทับตราบริษัท" โดยกรรมการท่านนั้นเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท กรณีแบบนี้ กรรมการท่านนั้น สามารถปิดบริษัท โดยตัวผมไม่ได้เซ็นต์ในแบบฟอร์ม จดทะเบียน ทำได้ไหม และกรรมการท่านนั้นจะมีความผิดไหม ครับตอบ - กรรมการอีกท่าน เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท และมีอำนาจเซ็นต์ แบบนี้ผู้ส่วนหุ้นส่วนใหญ่ต้องถือหุ้นเกิน 75% เท่านั้น ครับ ถ้าถือระหว่าง 51% - 75% ท่านนั้น ไม่สามารถทำได้ เว้นแต่
อย่างไรเสีย อยากให้ท่าน ให้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ หรือ ท่านอาจโทรสอบถาม ได้ที่ นาราการบัญชี โทร 080 175 2000
|
ถาม 9 - บริษัทเราเป็นต่างชาติ ต้องการปิด โดยได้แจ้งคืนที่อยู่สำนักงาน และต้องขนย้ายออกจากอาคารสิ้นเดือน หน้า ไม่ทราบว่า อย่างนี้ ทางนาราการบัญชี สามารถช่วยอำนวย ความสะดวก ทุกอย่างให้ได้ไหม คะตอบ - ได้ครับ เราสามารถให้ใช้ ที่อยู่เรา ทั้งเรื่องการจดทะเบียนปิดบริษัท โดยแนะนำให้แจ้งย้ายที่อยู่ก่อนจดทะเบียนเลิก (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) แล้วเรามีบริการรับฝากเอกสาร พร้อมทำลาย อีก 5 ปีข้างหน้าด้วยครับ ส่วนทรัพย์สิน อุปกรณ์สำนักงาน ต่างๆ ทาง นาราการบัญชี สามารถรับซื้อได้ครับ หรือไม่ก็แนะนำคนซื้อ ได้ครับ อย่างไรเสีย ระหว่างการปิดบัญชี บริษัทฯ ท่านอาจถูกเรียกตรวจสอบ ทั้งกรมสรรพากร และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เราก็สามารถส่งเจ้าหน้าที่ ที่เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน เป็นตัวแทน เข้าพบ และชี้แจง แทนบริษัท ด้วยเช่นกัน |
ถาม 10 - บริษัทจะแจ้งปิด ตามที่ นาราการบัญชี แนะนำ คะ แต่บริษัท ยังคงต้องรับการสั่งซื้อ อีก 1 รายการ เพื่อส่งออกไปยังประเทศตะวันออกกลาง ไม่ทราบว่า จะทำอย่างไรดี เราไม่สามารถให้ลูกค้าในต่างประเทศรู้จักกับผู้ผลิตในประเทศไทย แบบนี้สามารถส่งออกหลังจากจดทะเบียนปิดบริษัทแล้ว ได้หรือไม่ตอบ - ถ้าจดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ยังคงส่งออก แบบนี้ เราไม่แนะนำครับ แม้นว่าทำได้แต่จะยุ่งยาก ในกระบวนการปิดบริษัทโดยเฉพาะแบบภาษีที่ต้องนำยื่น เกี่ยวกับรายการนี้ จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม และนาราการบัญชี เอง ก็ไม่อยากรับงานประเภทนี้ด้วย เนื่องจากไม่สามารถประมาณการ ระยะเวลาการปิดบริษัทได้ ดังนั้น เราแนะนำว่า ให้หาบริษัทในประเทศไทยดำเนินการแทน หรือ จะใช้บริษัทในกลุ่ม ของ นาราการบัญชี ช่วยเป็นกรณี ๆ ก็ได้แช่นกันครับ |
ถาม 11 - เคยจดทะเบียนบริษัท ไว้เมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนี้ต้องการหยุดกิจการ แต่ไม่ต้องการปิดบริษัท อย่างนี้ ต้องแจ้งหน่วยงานราชการ หรือไม่ และทำอย่างไรตอบ - โดยปกติไม่ต้องแจ้งครับ (สรรพากร อาจขอให้ท่านแจ้งหยุดกิจการ สำหรับกิจการที่จด ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ และส่วนตัวมองว่าไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยในการแจ้ง จึงไม่จำเป็นต้องแจ้ง ครับ) แต่ถ้าท่านจะหยุดดำเนินการเป็นเวลานาน หรือยังไม่มีกำหนด ขอแนะนำว่า ท่านต้องจัดการ รายการบัญชี (ทรัพย์สิน / หนีสิน) ต่างๆ ให้เรียบร้อยเพื่อให้มีขนาดกิจการเล็กที่สุด เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระ เช่น ถ้ามีรายการทรัพย์สิน ที่ไม่ได้ใช้ ก็ควรทำขายออกไป อาจขายให้ส่วนตัว, รายการธนาคาร เป็นไปได้ก็ปิดให้หมด, เจ้าหนี้ และหนี้สินอื่นๆ ควรชำระให้หมด เพื่อให้ง่ายต่อการปิดบัญชี ในรอบต่อไป และเผื่อว่าตอนปิดบริษัท จะได้ง่าย ด้วยครับ |
ถาม 12 - ได้อ่าน ถาม-ตอบ ข้อ 2 การปิดบริษัท ถ้ามีกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร จะต้องเสียภาษีเงินปันผล ในอัตรา 10% ซึ่งตอนนี้บริษัทเรามีกำไรสมเหลือ 3 ล้านกว่าบาท ทางนาราฯ มีวิธี ที่ไม่ต้องเสียได้ไหมคะตอบ - ต้องขอโทษด้วย นาราการบัญชี ไม่สามารถหาทางออก ที่ผิดกฎหมายได้ แต่อย่างไรเสีย แนะนำว่า ให้ชำระภาษีในส่วนนี้ ณ ตอนถูกเรียกตรวจ จากกรมสรรพากร ซึ่งโดยปกติจะต้องได้รับการตรวจสอบภาษีก่อนปิดบริษัท แต่ก็มีบางราย ที่ได้รับอนุมัติให้ปิดโดยไม่ต้องตรวจสอบ เช่นกัน |
|
เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน และจดเสร็จในวันเดียวกัน
เราดำเนินธุรกิจมากว่า 15 ปี โดยเดินทางไปแล้วกว่า 45 จังหวัด และใน กทม. เราให้บริการเกือบทุกวัน ท่านมั่นใจได้ว่า เราเข้าใจ ปัญหา โดยได้วางแผน และสร้างระบบเพื่อป้องกัน และทีมงานเรายังคงมุ่งมั่น ทำอย่างอย่างจริงจัง ตลอดมา
ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ชื่อและหมายเลขผู้สอบบัญชี
เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินในนามท่าน ให้ โรงพยาบาลของรัฐบาล อย่างน้อย 500 บาท
(บริจาคแล้ว ส่งใบเสร็จให้เรา) คลิ๊กที่นี้
ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ลายมือชื่อทนายรับรอง
เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินในนามท่าน ให้ โรงพยาบาลของรัฐ อย่างน้อย 500 บาท
(บริจาคแล้ว ส่งใบเสร็จให้เรา) คลิ๊กที่นี้