ปิดบริษัท ด้วยตัวเอง เราช่วยเตรียมเอกสาร จดทะเบียนเลิก – ชำระบัญชี – ทำงบการเงินและตรวจสอบ – ประสานงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบริการครอบคลุมทั่วประเทศ พิเศษ ค่าบริการแค่ 9,000 บาท
เงื่อนไขบริการ
-
รับเฉพาะ บริษัท (หรือห้างหุ้นส่วน) ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
-
และ เป็นบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ (หรือ งบเปล่า)
ค่าบริการ 9,000 บาท
- ครอบคลุม ค่าจัดเตรียมเอกสาร เพื่อจดทะเบียนเลิกบริษัท จดทะเบียนชำระบัญชี ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี
- ไม่รวม ค่าธรรมเนียม-กรมพัฒน์ ฯ 1,260 บาท
- ไม่รวม ค่าโฆษณาและส่งเชิญประชุม 1,200 บาท (อาจไม่จำเป็นต้องจ่าย แล้วแต่กรณี)
ระยะเวลา 30 วัน
- วันที่ 1 ท่านตัดสินใจจ้าง
- วันที่ 2 นาราฯ ส่งเอกสารให้ท่าน ทางไปรษณีย์
- วันที่ 4 ท่านนำเอกสาร ไปจดเลิกบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน ณ กรมพัฒน์ฯ (เสร็จงาน จะได้ หนังสือรับรอง เลิกบริษัท) ท่านส่งภาพทางไลน์ ให้นารา
- วันที่ 5 – 6 นาราฯ จัดทำงบการเงิน พร้อมผู้ตรวจสอบบัญชี ลงลายมือชื่อ
- วันที่ 7 นาราฯ ส่งเอกสารให้ท่าน ทางไปรษณีย์
- วันที่ วันที่ 10 – 15 เมื่อได้รับเอกสาร ท่านดำเนินการยื่นภาษี สำหรับงบเลิกบริษัท
- วันที่ 29 ท่านนำเอกสาร ไปจด เสร็จชำระบัญชี ที่กรมพัฒน์ฯ อีกครั้ง (เสร็จงาน จะได้รับ หนังสือรับรอง เสร็จชำระบัญชี) ท่านส่งภาพทางไลน์ให้นารา
รายชื่อลูกค้า ที่ให้บริการสำเร็จ ในระหว่าง ปี 2564
ถาม - ตอบ ปิดบริษัท ด้วยตัวเอง
ถาม 1 - ระยะเวลา เร็วสุดสำหรับ การปิดบริษัท ขนาดเล็กๆ ใช้เวลา นานแค่ไหนคะนารา - ปกติ ความหมายของขนาดเล็ก นั้น ยังมีความหมายไม่ชัดเจนครับ ผมขอยกตัวอย่าง เป็นแบบ งบเปล่า หรือ งบไม่ดำเนินงาน นะครับ และจะเอาแบบเร็วสุดก็ 22 วันครับ (ถ้ามีการประชุมจริงก็ต้องบวกเพิ่มอีก 14 วันนะครับ)
อย่างไรเสีย กรณีมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ท่านต้องนำยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบเปล่า) ต่อไปอีก 6 เดือน จนกว่า กรมสรรพากรจะออกเอกสารการอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติแล้วจะไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่คืนใบทะเบียน (ขั้นที่ 3) สงสัย เพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท นาราการบัญชี จำกัด โทร 080 173 2000, 080 174 2000 หรือ 080 175 2000 |
ถาม 2 - ทราบมาว่า กำไรสะสม ที่เหลือในบัญชี ต้องเสียภาษีด้วย เหรอคะ ถ้าไม่ทำจ่าย ได้ไหมคะตอบ - ครับ ตามกฎหมาย ต้องทำการจ่ายปันผล และเสียภาษีให้ครบถ้วนก่อน ครับ จึงจะดำเนินการปิดบริษัทได้ ขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้นะครับ กรณี ที่เงินปันผล ต้องจ่ายให้กับ บุคคลธรรมดา (ส่วนใหญ่ลูกค้า ที่จดทะเบียนเลิก กับ นาราการบัญชี เป็นแบบนี้ครับ) บริษัทต้องทำจ่ายเงินปันผล และหักภาษี ณ ที่จ่ายใน อัตรา 10% โดยส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้ไปเคลียร์ในขั้นตอน การตรวจสอบของ สรรพากร ครับ ซึ่งแน่นอนว่า อยู่หลังวันเลิก - จดทะเบียนเลิก (ปิดบริษัท) ดังนั้น ก็อาจมีค่าปรับแบบ สำหรับการยื่นย้อนหลังกลับมา ณ วันจดทะเบียนเลิก แต่มันก็ง่ายกว่า ที่จะทำทันที เพราะบางครั้งก็ไม่โดนเรียกตรวจ หรือ เมื่อถูกเรียกตรวจ ก็ให้เจ้าหน้าที่ได้ผลงาน ในการตรวจสอบ ทำให้เราปิดบริษัทได้ง่ายกว่า ครับ หมายเหตุ
|
ถาม 3 - บริษัท ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 และ ได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด 50 ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2558 ไว้แล้ว สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2558 จนถึงวันที่ชำระบัญชีเสร็จ ถ้าระยะเวลาการชำระบัญชีเกินกว่า 12 เดือน บริษัทฯ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ คะตอบ - บริษัท ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไว้แล้ว แต่การชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้ถือว่า บริษัทฯ ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ตามมาตรา 1249 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น บริษัทฯ จึงยังมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ แบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมงบการเงินต่อไป จนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีเสร็จ โดยมีรอบระยะ เวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก) โดยแต่ละรอบบัญชี ต้องไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 ปี |
ถาม 4 - กรณีห้างฯ ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ. 09 ห้างฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีหรือไม่ และผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจากห้างฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ห้างฯ เรียกเก็บไปหักออกจากภาษีขายได้หรือไม่ตอบ - กรณีห้างฯ แจ้งเลิกกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ห้างฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.09) พร้อมคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ณ สถานที่ที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่ห้างฯ มิได้ยื่นแบบ ภ.พ.09 และยังคงประกอบกิจการ ออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบ ภ.พ. 30 พร้อมทั้งชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ห้างฯ จึงมีความผิดกรณีที่ไม่แจ้ง เลิกประกอบกิจการและคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 90(8) และมาตรา 90/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อห้างฯ ยื่นแบบ ภ.พ. 09 แล้ว ห้างฯ ยังคงรับผิดในฐานะ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไป โดยยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม จนกว่าอธิบดีจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ ห้างฯ ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทั้งนี้ ตามมาตรา 83 มาตรา 85/19(2) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร นับแต่วันที่แจ้งเลิกประกอบ กิจการเป็นต้นไป อีกทั้งไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปในระหว่างวันที่แจ้งเลิกประกอบกิจการ ถึงวันที่อธิบดีสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาถือเป็นภาษีซื้อ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร |
ถาม 5 - บริษัทเราได้รับ การส่งเสริมการลงทุน BOI และกำลังวางแผนที่จะปิดบริษัท สามารถทำได้เหมือนกับบริษัทปกติหรือไม่ หรือมีขั้นตอนการดำเนินการปิดบริษัท แต่งต่างเพิ่มเติมอย่างไรตอบ - การปิดบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม จะมีขั้นตอนการปิดแตกต่างจากปกติครับ ดังนี้
|
ถาม 6 - ผมได้ปิดบริษัท และเสร็จชำระบัญชี ไปแล้ว แต่ได้รับเอกสาร การถูกประเมินภาษี จากกรมสรรพากร แบบนี้เป็นไปได้เหรอครับ ผมควรติดต่อกลับไปหา สรรพากรไหมครับตอบ - เป็นไปได้ครับ แต่ไม่ค่อยได้เจอ ในกรณีแบบนี้ ส่วนใหญ่ จะเรียกเก็บค่าเงินเพิ่ม หรือ ค่าปรับเพิ่มเติม จากถูกตรวจสอบในครั้งก่อนๆ หรือ เกิดจากคู่ค้าถูกตรวจสอบ แนะนำให้เข้าพบและจัดการปัญหาให้จบนะครับ อันที่จริง กรมสรรพากร ก็เข้าใจบริษัทนะครับ และก็ต้องการให้บริษัทปิดอย่างถูกต้องเช่นกัน อ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ยังบัญญัติว่า ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี |
ถาม 7 - บริษัทมีที่ดิน ซึ่งคาดว่าจะขายได้กำไร กว่า 2 เท่า หรือ กว่า 35 ล้านบาท ไม่ทราบว่าควรวางแผนขายที่ดิน แปลงนี้อย่างไร หรือ ควรแบ่งกันหลังจากปิดบริษัทแล้วตอบ - แนะนำให้ดำเนินการขายที่ดิน ให้เรียบร้อยก่อนปิดบริษัทครับ เพราะการเสียภาษีจะอยู่ในรูปของเงินปันผล กล่าวคือ ถูกหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแค่ 10% และผู้ได้รับเงินปันผล (ผู้ถือหุ้น) ก็มีสิทธิเลือกว่าจะนำไปรวมเพื่อเสียภาษีหรือไม่ กล่าวคือ อย่างมากก็เสียภาษีในอัตรา 10% แต่ถ้านำที่ดินแปลงนี้ ไปขายหลังปิดบริษัท หรือโอนให้ผู้ถือหุ้น อัตราการคำนวณภาษีจะต่างไป กล่างคือ ผู้ได้รับ (มีถิ่นที่อยู่ในไทย และสียภาษีในไทย) ต้องเสียภาษีจากรายได้ส่วนนี้ (เกินกว่าเงินลงทุน) ในอัตราก้าวหน้า ซึ่งฐานภาษีจะสูงกว่า และ กรณีเป็นผู้รับต่างชาติ (ไม่มีถิ่นที่อยู่ และเสียภาษีในไทย) ต้องถูกหัก ในอัตรา 15% |
นักบัญชีอิสระ แต่ละจังหวัด ร่วมเป็น พันธมิตร กับ นาราการบัญชี
นาราการบัญชี เดินทางจดทะเบียนบริษัททั่วประเทศ แต่ไม่สามารถให้บริการบัญชี ได้ทั่วประเทศ ดังนั้น หากลูกค้าจดทะเบียนใหม่ ต้องการนักบัญชี นาราการบัญชี จะแนะนำ นักบัญชีอิสระ ในแต่ละจังหวัด ให้กับลูกค้า
ดังนั้น หากนักบัญชีอิสระ ท่านใดสนใจเป็นพันธมิตร กับ นาราการบัญชี ท่านสามารถ เข้าเวปไซท์ www.นักบัญชีอิสระ.com โดยท่านสามารถโพสท์ ตามจังหวัดที่ท่านสะดวกรับงาน
เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน และจดเสร็จในวันเดียวกัน
เราดำเนินธุรกิจมากว่า 15 ปี โดยเดินทางไปแล้วกว่า 45 จังหวัด และใน กทม. เราให้บริการเกือบทุกวัน ท่านมั่นใจได้ว่า เราเข้าใจ ปัญหา โดยได้วางแผน และสร้างระบบเพื่อป้องกัน และทีมงานเรายังคงมุ่งมั่น ทำอย่างอย่างจริงจัง ตลอดมา
ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ชื่อและหมายเลขผู้สอบบัญชี
เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินในนามท่าน ให้ โรงพยาบาลของรัฐบาล อย่างน้อย 500 บาท
(บริจาคแล้ว ส่งใบเสร็จให้เรา) คลิ๊กที่นี้
ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ลายมือชื่อทนายรับรอง
เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินในนามท่าน ให้ โรงพยาบาลของรัฐ อย่างน้อย 500 บาท
(บริจาคแล้ว ส่งใบเสร็จให้เรา) คลิ๊กที่นี้